Acticontact   คือเทคโนโลยีใหม่ในการบำบัดน้ำเสีย  ถือหลักการสร้างฟิล์มชีวภาพ (Biological film)   โดยระบบนี้น้ำเสียและอากาศจะไหลขึ้นตามแนวตั้ง (upflow)  ผ่านไปยังถังปฏิกิริยา(reactor tank)  ซึ่งมีวัสดุกรอง  Actilite porous filter.

Acticontact – การกรองน้ำให้บริสุทธิ์ – วิธีธรรมชาติ

ด้วยแนวทางนี้ ระบบ Acticontact   ทำให้การบำบัดน้ำเสียทำได้โดยง่ายและมีประสิทธิภาพ  ในขณะที่น้ำเสียไหลผ่านวัสดุกรองที่เป็นรอยพรุน  สาร  BOD  ในน้ำจะถูกเก็บกักและย่อยสลายโดยแบคทีเรียซึ่งสะสมบนพื้นผิวของวัสดุกรอง ดังนั้น ระบบ  Acticontact  จึงสามารถรับภาระ BOD ได้เหนือกว่า  และยิ่งไปกว่านั้น ผลการเปรียบเทียบกับระบบอื่นๆ ปรากฏมาเป็นที่น่าพอใจในเรื่องประสิทธิภาพของการกำจัด BOD ได้สูงในระดับองศาเดียวกันกับ BOD Loading

Actilite  เป็นวัสดุกรองมีรอยพรุนบนพื้นผิวกว้าง   Actilite มีหลายชนิดแตกต่างกัน เลือกชนิดที่เหมาะสมได้ตามลักษณะของน้ำเสียที่ต้องการบำบัด


Features

ระบบสามารถรับอัตราการรับภาระได้สูงกว่า/มีขนาดกระทัดรัด

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบ activated sludge สามารถรับอัตราการรับภาระได้ถึง 0.3 ถึง 1.0 กิโลกรัม/ลบ.ม./วัน หากจะเปรียบเทียบ Acticontact สามารถ รับมือ BOD Loading ได้สูงถึง 3 ถึง 17 kg.BOD/ลบ.ม./วัน ซึ่งหมายความว่า Acticontact  กำหนด Oxidation contact area เพียง 1/3 ถึง 1/10  ของระบบ   ในทำนองเดียวกัน Acticontact ให้พื้นที่ผิวหน้ามากกว่าแผ่นกรองชีวภาพ  และที่สำคัญคือ ราคาไม่สูง อีกทั้งยังประหยัดพื้นที่

มีความสามารถในการปรับตัวได้ดีกว่าเพื่อรองรับการผันผวนของคุณภาพน้ำเสีย ง่ายต่อการบำรุงรักษา

วัสดุกรอง Actilite มีพื้นผิวหน้ามากถึง 200 – 500 ms./ms.  เนื่องจาก แบคทีเรียและตะกอนแขวนลอยไม่เพียงแต่จะสะสมอยู่บนพื้นผิวของวัสดุกรองเท่านั้นแต่ยังอยู่ในช่องว่างต่าง ๆ ด้วยเหมือนกัน ตะกอนแขวนลอยบน Actilite มีปริมาณสูงมาก นอกจากนี้ Acticontact ยังสามารถรับมือกับความผันแปรของ BOD loading  และค่า pH รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ในสภาพการทำงาน

เนื่องจากแบคทีเรียติดอยู่บนวัสดุกรอง จึงไม่มีความจำเป็นที่จะให้ตะกอนจุลินทรีย์กลับมา และยังไม่เคยปรากฏปัญหาเช่นนี้ซึ่งเป็นปกติที่พบในกระบวนการบำบัดน้ำทางชีวภาพแบบสามัญ

ปริมาณตะกอนจุลินทรีย์น้อยกว่า

พื้นผิวของฟิล์มชีวภาพของ Acticontact อยู่ในสภาวะต้องการออกซิเจนในขณะที่พื้นผิวภายในอยู่ในสภาวะไม่ใช้ออกซิเจน   สภาวะนี้มีผลดีต่อตะกอนจุลินทรีย์ที่สร้างอาหารได้เอง ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากตะกอนจุลินทรีย์ในถังปฏิกิริยามีความเข้มข้นสูงกว่าทำให้มีอายุยาวกว่า ประกอบกับห่วงโซ่อาหารที่ยาวกว่าซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มจุลินทรีย์หลากหลายสายพันธุ์ทำให้ตะกอนจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นในถังมีปริมาณน้อยกว่า

ถ้าจะระบุให้ชัดเจนลงไป ปริมาณของ sludge ที่ถูกสร้างขึ้นในปฏิกิริยา Acticontact มีปริมาณเท่ากับ ½-1/3  ของที่ถูกสร้างในกระบวนการบำบัดน้ำด้วยตะกอนเร่ง ( activated sludge)

ไม่จำเป็นต้องมีหัวเชื้อตะกอนจุลินทรีย์ – เริ่มเดินระบบได้ดีกว่า

ไม่จำเป็นต้องมีหัวเชื้อตะกอนจุลินทรีย์ในช่วงเริ่มเดินระบบปฏิกิริยา ระบบเริ่มทำงานเต็มที่ภายใน 2-7 วันหลังจากปล่อยน้ำเสียและอากาศผ่าน     กลุ่มจุลินทรีย์ที่เติบโตในปฏิกิริยาจะถูกกักเก็บที่วัสดุกรอง ดังนั้น การหยุดชะงักใด ๆ ในระหว่างปฏิบัติงานจะไม่ทำให้การเริ่มเดินระบบในช่วงต่อไปช้าลง